วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

ปัญหาที่พบในประสบการณ์การสอนด้วยเทคโนโลยี

1. การประสบความสำเร็จในการสอน ไม่ได้เป็นผลลัพธ์จากอิทธิพลของปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดเพียงแต่อย่างเดียวแต่ เป็นปัจจัยสามกลุ่มอันจำแนกออกได้เป็น


ปัจจัยที่ 1 สื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยี
tools
ควรได้รับการออกแบบที่สอดคล้องกับบุคลิกการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ ลักษณะของผู้เรียน(Learners’ Characteristic) และ รูปแบบการเรียนรู้ (Learners’ Learning Style) ในวงกว้างคือ ปรับใช้ได้ทั้งแบบการเรียนรู้แบบ Active และ Passive (Flexibility) รวมไปถึงการเปิดกว้างสำหรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานของผู้เรียน (Learners’ Prior Background Knowledge)แตกต่างกันไป
นอกจากนี้ ควรตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ทั้งในแง่ของ
- คุณภาพทางด้านเนื้อหา ที่มีความถูกต้อง ชัดเจน สามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนได้จริง(Accuracy & Knowledge Transferability)
- มีรูปแบบที่สนับสนุนรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่าง (Different Learning Style Supports)เช่น แบบอ่าน (text) แบบฟัง (audio) แบบชมภาพยนตร์ (video demonstration) และการเรียนรู้แบบช่วยเหลือร่วมมือ (Cooperation & Collaboration = webboard) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่เรียกว่า Rich Interaction
- ความสะดวก ง่ายในการศึกษาใช้งาน (User-friendly) รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงสื่อที่มีเสถียรภาพ (Accessible & Stability)เข้าได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere & Anytime)
- เนื้อหาแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) มีความดึงดูด (Attractive) น่าสนใจ (Interesting) และรูปแบบการนำเสนอที่มีชีวิตชีวา (Lively Rich Text) ซึ่งรวมไปถึงภาพและเสียง
- แบบฝึกทดสอบที่มีการแสดงผลตอบรับที่รวดเร็ว (Interactive : Rapid Response – Feedback) มีแรงผลักที่เร้าให้สนใจ (Motivate) และผูกมัด (Engaging) ให้ผู้เรียนจดจ่อมุ่งมั่นต่อการเรียนเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
- มีเครื่องมือเสริมที่สนับสนุนการเรียนรู้ (Tools) เช่น เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือช่วยบันทึก และเครื่องมือสนับสนุนการร่วมมือเพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ (Collaboration Tools)
- มีประสิทธิภาพในการวัดผลประเมินผล (Assessment and Evaluation Quality)ซึ่ง ควรมีความสอดคล้องกับรูปแบบการวัดผลที่ระบุในวัตถุประสงค์การสอน (Objectives) เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้สอนในการดำเนินการวัดผล ซึ่งส่งผลให้เกิดความรวดเร็ว (Rapid) แม่นยำ (Accuracy) และเชื่อถือ (Reliability) ได้ของเครื่องมือ ซึ่งในส่วนนี้สำหรับผู้สอน

ปัจจัยที่ 2 ผู้สอน

t
ผู้สอนต้องมีแนวคิดที่จะสร้างบรรยากาศแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-Center Learning Environment)มากขึ้นโดยเน้นการยึดถือบทบาทของผู้ให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก (Facilitator)ซึ่งควรมีแนวคิดที่ตระหนักถึง ลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนยุคใหม่ (Net Generation)ซึ่งเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ไปที่การได้สร้าง (create) วิเคราะห์ (analyze) ประเมิน (evaluate) ร่วมมือ (collaborate)
นอกจากแนวคิดที่สอดรับการความต้องการของผู้เรียนแล้ว ผู้สอนเองก็ควรมีความรู้ความสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีในการสอนอย่างมี ประสิทธิภาพและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น

ปัจจัยที่ 3 ผู้เรียน
Kids

ปัจจัยมากมายในด้านของผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามแต่ควรให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสอนสูงสุด เช่น
- ลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Characteristic) และรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)
- พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน (Prior Background Knowledge)
- ความต้องการที่จะใช้สื่อและกิจกรรมที่เน้นเทคโนโลยีทันสมัย ในกระบวนการเรียนเพื่อพื้นฐานในการดำรงชีพในอนาคต (Requirement for New Technology equipped teaching material)
- รักการเรียนรู้แบบศึกษาภิรมย์ (Edutainment)
- ต้องการอิสระในการเรียนรู้ (Whatever, whenever & wherever)

2. ผลจากการจำแนกในข้อ 1 บทบาทสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ คือ ผู้สอน ซึ่งต้องเน้นไปที่ความ พร้อมที่จะรับมือทั้งในด้านของเครื่องมือสื่อการสอน และผู้เรียน โดยเน้นการแสดงบทบาทผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผลักดันให้เกิดกิจกรรมที่สร้างความช่วยเหลือ ร่วมมือในการรับความรู้และ ดำเนินการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากการติดตามเอาใจใส่ในส่วนของสื่อการสอน และผู้เรียนแล้ว ผู้สอนจำต้องมีความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับวิธีการสอนใหม่ ๆ ที่บูรณาการเทคโนโลยี (Technology Integrated Teaching Methodologies) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนเสมอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนสูงสุด และท้ายสุดคือ ผู้สอน ต้องทันเทคโนโลยีที่มีก้าวพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเสมอ

จาก สองหัวข้อหลัก เมื่อพิจารณาจากปัญหาที่พบในประสบการณ์การสอนด้วยเทคโนโลยี ปัญหาของผมคือ สื่อที่ยังคงต้องการการปรับปรุงพัฒนาเสมอ ซึ่งผมยังคงติดตามและศึกษาโปรแกรมผลิตสื่อประสมใหม่ ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ มาก ๆ ขึ้นครับ

Website ​ที่พัฒนา​จาก​ CMS ​และ​ LMS ​เปรียบเทียบ​ ​อภิปราย​ ​วิ​เคราะห์

ขอวิเคราะห์ LMS และ CMS แต่ละตัวดังนี้ก่อนนะครับ

Course Management System หรือบางครั้งผมเรียกว่า Content Management System
ระบบการจัดการเนื้อหาหรือหลักสูตรต่างๆจะมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สนับสนุนการสร้างcomponentหรือองค์ประกอบที่จำเป็นพื้นฐานต่างๆที่เว็บไซท์แห่งหนึ่งควรจะมีโดยหากแบ่งตามหน้าที่การใช้งาน CMS จะมีอุปกรณ์ในการสร้างงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตเนื้อหา กลุ่มทำการเชื่อมโยงและ กลุ่มสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์โดยเน้นความสะดวกในผลิตนำเข้าผสมสื่อต่างๆรวมไปถึงความสะดวกในการเชื่อมโยงเนื้อหาจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งและคงไว้ซึ่งความสามารถในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และผู้ดูแลเว็บ


























Learning Management System ระบบการจัดการการเรียนรู้ หรือ Virtual Learning Environment (VLE)
อย่างที่ผมเคยกล่าวไปแล้วนะครับสิ่งที่ต่างคือ จุดมุ่งหมายของการใช้งานที่ให้ LMS มีรูปแบบการใช้งานที่สนับสนุนการทำกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนซึ่งจะยังมีอุปกรณ์ที่สนับสนุนการพัฒนาเว็บโดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเช่นเดิมคือกลุ่มผลิตเนื้อหากลุ่มทำการเชื่อมโยงและกลุ่มสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์โดยจะเพิ่มส่วนของการวัดผลประเมินผลมาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งถ้าวิเคราะห์ในแง่ของLMSสิ่งที่ถูกมองเป็นสิ่งที่สำคัญคือความสามารถที่สนับสนุนการนำเสนอเนื้อหาแบบฝึกแบบทดสอบรวมไปถึงการวัดผลประเมินผลซึ่งจะต้องสนับสนุนยุทธศาสตร์การสอนในรูปแบบต่างๆสามารถติดตามประวัติการใช้งานของผู้เรียนได้และสนับสนุนการกระตุ้นติดตามจากผู้เรียนได้ซึ่งทั้งหมดนั้นมุ่งเน้นไปที่ความสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษานั่นเอง







ด้วยที่ความไม่เห็นความแตกต่างในเรื่องของระบบจึงขอจำแนกข้อดีและข้อจำกัดของCMSและLMSด้วยกันดังนี้ครับ

ข้อดี

- ผู้ใช้งานในแง่ของผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการพัฒนาเว็บไซท์มากเพียงใช้ทักษะพื้นฐานในการใช้งานเว็บไซท์ก็สามารถบริหารได้เพียงจัดการข้อมูลนำขึ้นนำเสนอติดตามผลและประสานปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม
- สนับสนุนการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลายในเรื่องของรูปแบบสกุลทั้งแบบแสดงผลเลยหรืออนุญาตให้บันทึกลงเครื่อง
- ช่วยลดขั้นตอนในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อนำเข้าสมาชิกการเก็บข้อมูลผู้ใช้ในด้านต่างๆรวมไปถึงแสดงสถิติการใช้งาน
- มีเครื่องมือที่สนับสนุนการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารนำเสนอข้อมูลในแบบต่างๆที่ผู้ดูแลเป็นเพียงผู้เลือกหยิบมาใช้เท่านั้น
- ช่วยลดขั้นตอนที่ต้องทำด้วยตนเองต่างๆในการบริหารสมาชิกเช่นการแจ้งเตือนการประกาศที่ส่งข้อความผ่านต่อไปยังไปรษณีย์อิเล็กทรอนิคส์
- การปรับเปลี่ยนแก้ไขพัฒนาหรือสร้างเอกสารขึ้นใหม่สามารถทำได้ที่ระบบเลยไม่ต้องพัฒนาจากระบบOfflineแล้วขึ้นผ่านFTPในภายหลังแต่ก็ยังสนับสนุนการนำแฟ้มชนิดอื่นเข้าไปแสดงผลในตัวระบบหลักด้วย
- ในด้านการสอนมีเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่หลายหลากเพิ่มเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาของผู้เรียนต่อเนื้อหาได้มากขึ้น
- ระบบมีความสามารถในการสนับสนุนการโอนถ่ายข้อมูลสำรองข้อมูลที่สะดวกต่อผู้ใช้งานและนำไปต่อยอดหรือใช้ต่อในระบบที่มีความสอดคล้องกันได้
- LMSส่วนใหญ่มีcommunityของกลุ่มผู้ใช้ที่จะช่วยแนะนำแก้ไขปัญหาจากการใช้งานรวมไปถึงการแจกจ่ายสื่อการสอนที่หลากหลายและสามารถนำไปเข้าสู่ระบบได้
- LMSส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาเพื่อปรับแก้ข้อบกพร่องข้อจำกัดต่างๆเสมอทำให้ปัญหาในการใช้งานในรุ่นเก่าๆได้รับการแก้ไขเสมอ

ข้อจำกัด
- เนื่องการแสดงผลในแต่ละหน้าจอเกิดจากการสั่งงานของสคริปในระบบทำให้มีรูปแบบโครงสร้างการแสดงผลที่เหมือนกันผู้ใช้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนการแสดงให้เป็นไปได้ตามความต่างการหรือหลากหลายได้นอกจากการเข้าไปพัฒนาปรับรหัสซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อนยุ่งยาก
- มีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลซึ่งถ้าฐานข้อมูลมีความบกพร่องในส่วนหนึ่งส่วนใดอาจทำให้ระบบล่มและไม่สามารถแสดงผลได้ต่างจากเอกสารhtmlที่จะมีความเอกเทศในการแสดงผลต่อหน้า
- การอนุญาตในการแทรกคำสั่งhtmlมีข้อจำกัดบางคำสั่งไม่แสดงผลเนื่องจากต้องทำการแสดงผลภายใต้โครงสร้างหลักของระบบ
- ความสามารถในการสร้างสื่อที่สวยงามหลากหลายยังต้องอาศัยผลิตภัณฑ์จากซอฟท์แวร์อื่นมาพัฒนาและอาจต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางลำพังผู้มีทักษะในการใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่เพียงพอ
- ระบบCMSบางตัว(เช่นMoodle)ใช้ฐานข้อมูลในการเก็บข้อมูลเกือบทุกรูปแบบทำให้ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่การสำรองไฟล์จะทำให้มีขนาดใหญ่ไปด้วยและอาจส่งผลกระทบกับกระบวนการสำรองที่จะล้มเหลวได้ด้วย
- แม้LMSส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาเพื่อปรับแก้ข้อบกพร่องข้อจำกัดต่างๆเสมอทำให้ปัญหาในการใช้งานในรุ่นเก่าๆได้รับการแก้ไขเสมอแต่ระบบCMSบางตัวเช่น(เช่นMoodle)มีการพัฒนาต่อเนื่องแต่พบว่าหลายครั้งแต่เวอร์ชั่นใหม่ไม่สนับสนุนการนำข้อมูลที่สำรองจากเวอร์ชั่นเก่ากว่ามาติดตั้งส่งผลให้ต้องพัฒนาเนื้อหาใหม่ในระบบCMSตัวใหม่แทน

วิเคราะห์เปรียบเทียบเว็บไซท์ที่สร้างโดย CMS และLMS ต่างๆกัน เชิงอภิปราย

JOOMLA!
คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าJoomlaเป็นเครื่องมือพัฒนาเว็บไซท์ที่ต้องนำเสนอข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายต่อผู้ดูแลในการเข้าไปจัดการปรับแต่งแก้ไขเพราะมีรูปแบบที่อนุญาตการปรับแก้ไขโดยมีเครื่องมือให้ใช้งานเลือกใช้อย่างหลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้พัฒนาได้เป็นอย่างดีจากการศึกษาดูรูปแบบของเว็บไซท์ต่างๆที่ผลิตด้วยJoomla!ก็จะเห็นรูปแบบที่หลากหลายน่าสนใจและรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลายแต่ก็จะสังเกตเห็นInterfaceที่เป็นComponentมาตรฐานที่จำเป็นต้องมีปรากฏให้เห็นทุกเว็บซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานของJoomla!ที่ได้จัดเตรียมไว้ให้เพื่อความสะดวกในการจัดสร้างข้อมูลหมวดต่างๆรวมไปถึงThemeหรือรูปแบบต่างๆที่จัดเตรียมไว้ให้ก็ช่วยลดขั้นตอนในการพัฒนาเนื้อหาเว็บไซท์ได้เป็นอย่างดีแต่สิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยคือJoomlaถูกโจรกรรมฐานข้อมูลบ่อยและเป็นที่พูดถึงในกลุ่มผู้พัฒนาเว็บระดับหนึ่งเลยทีเดียว


























Blackboard เป็น LMS ที่ผมมีความรู้ที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุดเพราะเหตุผลสำคัญคือเป็น LMS ที่ถูกพัฒนาเพื่อการพาณิชย์และหน่วยงานผมไม่มีการซื้อมาใช้เพราะราคาค่อนข้างสูงแต่จากการเข้าไปชมข้อมูลต่างๆในเว็บไซท์ก็พอจะได้ข้อมูลมาบ้างน่าเสียดายที่ Blackboard ไม่มี Trial Stand Alone version ให้ผู้สนใจได้ทดลองใช้งานเพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อแต่เข้าใจว่าทางบริษัทคงจะเน้นการขายไปในรูปแบบของการติดต่อกับหน่วยงานโดยตรงมากกว่าและใช้เว็บเพื่อการสนับสนุนข้อมูลต่างๆเท่านั้น

ถ้ามองในตัว LMS ของ Blackboard ที่ผมอ่านจากคู่มือผู้ใช้งานที่สุ่มเลือกมาก็จะพบว่าหลักการทำงานของ LMS ไม่ต่างจาก Open Source LMS ที่ใช้ ๆ กันซึ่งจะสนับสนุนการสร้างสื่อแบบฝึกและแบบทดสอบเพื่อวัดผลประเมินผลเช่นกัน แต่จะต่างกันตรงที่เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆจะออกมาในรูปแบบของ Plugin ที่ต้องซื้อเพิ่มเพื่อติดตั้งเข้าไปประกอบการสอนในกรณีที่อยากได้สื่อที่มีลักษณะต่างๆ และแม้แต่การช่วยเหลือในแง่ของการแนะนำวิธีใช้ก็เป็นการจ่ายเพื่อรับการฝึกอบรมด้วยทุกอย่างเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ส่วนตัวผมอ่านดูแล้วถอนหายใจครับ เพราะถ้าอยากใช้งานได้สมบูรณ์มีทุกแบบตามโฆษณาผมคงต้องจ่ายไปไม่น้อยเลยอย่างไรก็ตามครับ ตัวระบบ LMS Blackboard น่าจะมีเสถียรภาพที่สูงเพราะอยู่ในวงการการศึกษามานานแล้วและยังไม่พบรายงานข้อเสียข้อจำกัดที่ร้ายแรงอะไรครับผม

Ucompass
LMS ตัวนี้ผมมีโอกาสเข้าไปดูบ้างและพบว่ามีรูปแบบการนำเสนอที่ไม่แตกต่างจากมาตรฐาน LMS ที่มีอยู่ทั่วไปสนับสนุนทั้งในการเรียนการสอนการทำกิจกรรมต่างๆและเครื่องมือสนับสนุนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนจากการที่เข้าไปชมที่เว็บของ ucompass ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พบว่าใช้หน้าเว็บเพจธรรมดากับ Flash engine เพื่อนำเสนอข้อมูลภาพตัวอย่างของ Ucommpas LMS แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการวางเมนูไว้ทางซ้ายและพื้นที่สำหรับปฏิบัติการทางขวาระบบอนุญาตให้ผู้สอนสามารถปรับแต่งรูปแบบการสร้างเนื้อหาได้ แต่จากการได้ชมก็พบว่าจะมีการเปลี่ยนไปในรูปแบบของอักษรปุ่มภาพประกอบ แต่ตำแหน่งของชุดคำสั่งต่าง ๆ ก็จะยังเรียงด้านซ้ายคงเดิมสอดคล้องกับที่เคยอ้างไว้ก่อนหน้าว่าเป็นหน้าเพจที่สร้างจากตัวระบบจึงต้องคงรูปแบบไว้

เมื่อเข้าไปดูส่วนของ Educator พบว่ามีการเชิญให้ทดลองใช้โดยฝากเมล์ไว้ในระบบปรากฏว่าไม่ทำงาน(พยายามหาสาเหตุว่ามาจากเครื่องตนเองหรือเปล่า) จึงไม่สามารถเข้าไปทดลองใช้จริงๆได้ แต่ส่วนตัวดูจากตัวอย่างงานพบว่ามีขนาดการแสดงผลค่อนข้างเล็ก และมีข้อจำกัดในเรื่องของการกำหนดรูปแบบเช่นเดียวกับ LMS ตัวอื่นๆ


WebCTLMS
ผมได้ยิน WebCT มานานแล้วเกี่ยวกับการเป็น LMS ที่เป็นที่นิยมใช้มากตัวหนึ่งแต่ด้วยความที่ได้ทดลองMoodleเป็นตัวแรกจึงไม่ได้ไปทดลอง WebCT อีกเมื่ออาจารย์สั่งงานเลยเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสที่จะได้เข้าไปลองชมแต่เมื่อลองป้อนwww.webct.com ปรากฏว่าผมถูกพากลับไปยัง Blackboardนั่นน่าจะหมายความว่า WebCT ถูกควบรวมกิจการไปแล้วและรูปแบบการนำเสนอไปอยู่ในรูปแบบของ Blackboard หมดแล้วแม้จะตามไปขอดูเอกสารงานเก่าๆของ WebCT เช่นที่มหาวิทยาลัย McMaster ก็ยังถูกจำกัดการใช้งานจากระบบของ Blackboard ต่อจึงไม่ขอแสดงความเห็นส่วนนี้เพิ่มเติมนะครับ



Moodle.com LMS
ผู้พัฒนา Moodle เรียกตัวเองว่าเป็นCourse Management System(CMS)หรือ Virtual Learning Environment (VLE) แต่ปกติผมจะเข้าไปติดตามการอัพเกรดระบบที่ Moodle.org มากกว่าโดยที่Moodle.com นี้แสดงข้อมูลแบบหน้าเพจที่ให้ข้อมูลธรรมดาซึ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการใช้งานแบบมีทีมงานบริการในเชิงพานิชย์มากกว่า แต่ถ้าถามถึงให้เปรียบเทียบ LMS ตัวนี้ผมก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปศึกษาเพิ่มเติมเพราะใช้อยู่ตลอด
ความแตกต่างเดียวที่ Moodle มีเมื่อเปรียบเทียบกับ LMS เชิงพานิชย์อื่นๆก็คือใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆถ้ามีจิตศัทธาจะบริจาคสนับสนุนการพัฒนาก็สามารถทำได้ผ่าน Paypal โดยชุมชน หรือ Community หลักของผู้ใช้ Moodle จะอยู่ที่ Moodle.org ซึ่งจะเป็นศูนย์หลักในการพัฒนา Moodle และ Module ใหม่ๆมาให้ผู้ใช้นำไปปรับใช้กับระบบของตนเองโดยที่นี่ยังมีพื้นที่ที่เจาะจงลงไปตามกลุ่มผู้ใช้งานในประเทศต่างๆซึ่งมีประเทศไทยด้วยภายใต้การดูแลพัฒนาให้Moodleรองรับภาษาไทยโดย ดร.วิมลลักษณ์ สิงหนาท โดยศักยภาพของ Moodle ยังคงถูกพัฒนาพร้อม ๆ กับการพัฒนาและเพิ่มเติมในส่วนของเครื่องมือ (Module) ต่างๆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนอยู่เสมอ



สรุป
จากการเข้าชมสองกลุ่มหลักของระบบการจัดการทั้ง CMS และ LMS ผมไม่คิดว่ามีความแตกต่างในเรื่องการระบบและเครื่องมือสนับสนุนการสร้างการเชื่อมโยงและการปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมแต่ถ้าดูในแง่ของเพื่อการเรียนการสอนเครื่องมือที่สนับสนุนในเรื่องของการสร้างแบบฝึกแบบทดสอบแบบประเมินผลจะมุ่งเน้นการพัฒนาสื่อการสอนที่หลากหลายและมุ่งสนับสนุนกิจกรรมที่แตกต่างเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสำหรับการสอนจริงๆ

























ไม่มีความแตกต่างระหว่าง CMS/LMS/VLE ที่เป็นเชิงพาณิชย์กับที่พัฒนาออกมาให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในด้านของความมุ่งหมายที่จะพัฒนาเครื่องมือที่สนับสนุนการสอนที่ง่ายต่อครูในการเตรียมการสอนการดำเนินกระบวนการสอนการประเมินผลและง่ายต่อผู้เรียนในการเข้าเรียนส่งงานและติดตามสอบถามกับผู้สอนแต่ความต่างที่ปรากฏ คือ ค่าใช้จ่ายและการสนับสนุนต่อเนื่องซึ่งกลุ่มพาณิชย์จะต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงขึ้นตามความต้องการของผู้สอนและผู้เรียนแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบที่มีการพัฒนาเพื่อการพาณิชย์จะมีศักยภาพที่รองรับและนำเสนอได้อย่างมีเสถียรภาพกว่าระบบที่แจกจ่ายเพราะทีมผู้พัฒนาเชิงพาณิชย์จะมีทีมสนับสนุนทางด้านเทคนิคที่จะตรวจสอบระบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าก่อนนำออกจำหน่ายและทีมพัฒนาเชิงพาณิชย์จะมีทีมสนับสนุนทางด้านเทคนิคแและ ี่พร้อมลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆในขณะที่กลุ่มผู้ใช้ระบบที่พัฒนาและแจกจ่ายต้องอยู่รวมกันเป็นชุมชนเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้สามารถดำเนินการสอนโดยใช้CMS/LMS/VLEมาประกอบการสอนให้มีประสิทธิภาพได้นั่นเองครับ
นี่เป็นแนวคิดของผมจากการศึกษาครั้งนี้นะครับ

Site Structure คือ อะไีร

^___^

Site Structure หรือ Site Map คือ สิ่งทีุ่ถูกสร้่างเพื่อให้เป็นภาพรวมที่สะดวกต่อการเข้าสืบค้นข้อมูล เพราะ ถ้ามี Site Map เรา จะ สามารถกวาดตาหากลุ่มคำเป้าหมายทันที ไม่ต้องไปทดลองเปิดดูทีละหน้าทั้งเว็บ

^_^

ทุกเว็บต้องมีหรือเปล่า

ถ้ามีจะช่วยให้เกิดความสะดวกในเรื่องที่ผมกล่าวไปข้างต้นครับ แต่นั่นหมายความว่าเว็บนั้นข้อมูลต้องเยอะ และ หลากหลายมาก ๆ ถ้ามีข้อมูลจำกัด และ ต้องการบังคับการนำเสนอแบบตามลำดับขั้นตอน (Linear) ก็ จะไม่แสดงส่วนนี้ บางเว็บจะหันไปใส่ อุปกรณ์ Search แทนเพื่อไม่ต้องทำ Site Map ให้ผู้ชมครับ

^_^

สรุปได้ว่าจะมีหรือไม่แล้วแต่เจตนาของผู้ทำครับว่า จะให้เกิดการเข้าชมแบบใด เปิดอิสระ หรือ ตามลำดับ (พวกเว็บที่สอนอะ ไรสักอย่างมักทำแบบนี้ครับ) แ่ต่ถ้าจะไม่มี Site Map ควรมี link ให้เลือกกลับไปหน้าแรก หรือ หน้าหลักในกลุ่มย่อยด้วยเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ตัวอย่าง เช่น Moodle จะมีลิ้งค์ด้านบน (Navigation) ให้เราได้เลือกเพื่อกลับไปจุดต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ครับ

^_^

เว็บไซท์ สอนภาษาอังกฤษสำ หรับเด็ก CBEEBIES



เว็บไซท์ สอนภาษาอังกฤษสำ หรับเด็ก CBEEBIES

จัดทำโดย

The British Broadcasting Corporation (BBC)

URL

http://www.bbc.co.uk/cbeebies/

วัตถุประสงค์

C beebies เป็นเว็บไซท์ที่ออกแบบมาเพื่อการฝึกภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก (เด็กไทยอาจจะลำบากหน่อย) โดยเน้นไปที่ทักษะการเรียนรู้ผ่านการเล่นโดยเน้นการพัฒนาเว็บไซท์มาเพื่อรองรับการฝึกใช้ภาษาอังกฤษของเด็กในระดับปฐมวัย

เนื้อหา

เนื้อหาจะออกมาให้รูปแบบของเกม หรือ สื่อประสมที่มีการปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบของการ์ตูนที่มีสีสนสดใส เสียงดนตรีและเสียงประกอบที่ฟังง่ายในเนื้อหาที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเด็กที่จะทำความเข้าใจเน้นความสนุกสนานและเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

ความเห็น

อย่างที่ผมได้แนบความเห็นส่วนตัวเพิ่มไปแล้วว่า แม้จุดประสงค์ของ Cbeebies จะ เป็นการฝึกทักษะภาษาอังกฤษสำหรับเด็กในระดับปฐมวัย แต่เนื้อหาในแง่ของศัพท์ ความเร็วในการใช้ภาษา และความรู้พื้นฐานทางภาษา และ วัฒนธรรม ค่อนข้างจะยากเกินไปสำหรับเด็กไทย แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นเรื่องยากจนเกินไป แนะนำว่า ให้เด็กทดลองใช้โดยได้รับคำแนะนำต่าง ๆ จากผู้ปกครองไปด้วยเด็กไทยก็จะ สามารถได้รับประโยชน์จาก Cbeebies เช่นกันครับ

​แปล​ "Next-Generation eLearning: Sharing and Re-use Digital Learning Resources with Pedagogically-Sound eLearning Tools"

การเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์รุ่นต่อไปการแบ่งปันและนำสื่อการสอนดิจิตอลกลับมาใช้โดยใช้เครื่องมือการสอนที่เหมือนกับการสอนจริงๆ จากรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานอีเลิร์นนิ่งต่างๆมีการสรุปสาระที่เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อนของอีเลิร์นนิ่งดังนี้ครับ

จุดแข็ง
1.เครื่องมือที่ใช้ในการสอนมีความหลากหลายกว่าเมื่อก่อนและผู้เรียนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้มากกว่า
2.ไม่เพียงแต่ปริมาณที่มากขึ้นแต่คุณภาพยังมากขึ้นที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตอบโต้กับเนื้อหาและมีการแจ้งเตือนไปยังเมล์เมื่อการมีเพิ่มข้อความในกระดานเสวนา
3.สื่่อออนไลน์ส่วนใหญ่มีความสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้ให้กับฐานข้อมูลหรือระบบอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.สื่อการสอนสามารถบันทึกลและนำไปใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย








จุดอ่อน
1.รูปแบบของเครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันขาดการสอดรับกับทฤษฎีการเรียนรู้
2.ตัวรองรับระบบปัจจุบันค่อนข้างขัดขวางการแบ่งปันสื่อการสอนเพราะมีเพียงร้อยละ6ที่สนับสนุนการแบ่งปันสื่อซึ่งการผลิตต้องใช้งบและเวลาในการพัฒนาที่มากขึ้น
3.เมื่อตัวรองรับระบบเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นการใช้งานก็มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
4.สื่อการสอนที่เป็นที่นิยมไม่ได้เป็นสื่อที่อนุญาตให้นำไปต่อยอดและมีราคาแพง




จากการศึกษาถึงตัวรองรับสื่อการสอนอีเลิรน์นิ่งหรือPlatfomวิเคราะห์ของระบบในสามหมวดหลักของสื่อคือสื่อที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมสื่อเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการสื่อสารและสื่อที่เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรการสอนพบว่ามากกว่าครึ่งจาก66ตัวที่เลือกมาไม่มีสื่อที่ผู้เรียนมีส่วมร่วมและมีเพียงครึ่งเดียวที่พบว่ามีการออกแบบที่เข้ากันได้กับการออกแบบเพื่อการสอน(InstructionalDesign) ดูจากตารางนะครับว่าจะมีการเปรียบเทียบกับสื่อที่คาดหวังว่าจะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในด้านใดบ้าง นอกจากนี้ยังมีการระบุอีกในตารางที่สองที่ทำการเปรียบเทียบสื่อสองตัวที่มีการสนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการผลิตงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมแต่ไม่พบว่าสื่อใดมีการแบ่งปันสื่อการสอนตามตารางนะครับ






















จากนั้นก็มีการกล่าวถึงความต้องการที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาโดยเน้นผู้เขียนได้กำหนดหมวดหมู่ของการสอนให้เสมือนการเรียนรู้จริงออกเป็นสามหมวดคือ

1.เครื่องมือสำหรับสื่อสารโดยแนะนำให้ใช้ภาพยนตร์ในการประกอบการเรียนรู้ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการอ่านหนังสือนอกจากนี้ยังยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่นใช้กระดานเสวนาที่มีการส่งข้อความไปยังหน้าจอโทรศัพท์มือถือของผู้เรียนเสมอเพื่อให้ติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรมได้ตลอดรวมไปถึงความสามารถที่ผู้เรียนสามารถให้ผลสะท้อนต่อการเรียนของพวกเขาได้ผ่านระบบที่อนุญาตให้ทำการบันทึกบริหารจัดการเนื้อหาที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

2.เครื่องมือที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมซึ่งผู้เขียนได้กล่าวว่าสื่อส่วนใหญ่ได้มีการพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแต่ผู้เขียนได้แนะนำว่าควรมีการสนับสนุนให้สามารถทำกิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้ระหว่างเพื่อนหรือเพื่อร่วมกันสร้างการเรียนรู้แบบเป็นระบบไปด้วยกันการเขียนประเมินบันทึกส่วนตัวหรืองานของเพื่อนหรือการประเมินอื่นๆซึ่งสื่อการสอนควรรองรับการเรียนรู้เช่นนี้







3.เครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบเพื่อการสอนซึ่งจะเน้นไปที่ผู้สอนที่จะช่วยให้สามารถทำการดำเนินการสอนโดยใช้ขั้นตอนในการดำเนินการที่น้อยลงโดยคำนึงถึงตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์การสอนไปจนถึงการวัดผลประเมินผลซึ่งควรจะมีส่วนช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างเนื้อหาที่สามารถสื่อถึงผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสนับสนุนการสร้างสถานการณ์จำลองของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกแห่งความจริงในห้องเรียนเสมือนได้
นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เสนอถึงแนวคิดที่ผู้สอนสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่สร้างต่อชุมชนหรือผู้อื่นเพื่อนำไปใช้ในการสอนได้โดยมีการผลิตสื่อที่มีมาตรฐานและรองรับด้วยระบบการสอนต่างๆที่เหมือนกันเพื่อให้เกิดการแบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพเช่นการใช้SCORM/IMS,DublinCore,หรือCANCORE.



และผู้เขียนยังได้แนะนำถึงการออกแบบรูปแบบการแสดงผลของระบบการเรียนสอนที่ง่ายต่อการสอนและสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและท้ายสุดผู้เขียนได้แนะนำเกี่ยวกับสื่อการสอนที่เรียนรู้ได้ด้วยโดยมีความสามารถในการเรียนรู้ผู้เรียนที่ใช้สื่อได้ด้วยโดยศึกษาจากกระบวนการการใช้สื่อและปฏิสัมพันธ์ต่างๆในระบบโดยอาจทำเป็นแบบฟอร์มให้บันทึกข้อมูลส่วนตัวต่างๆที่จะสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบโดยผู้พัฒนาต่อไปเช่นข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วของอินเตอร์เน็ตเป็นต้นซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้พัฒนาปรับแก้ให้ระบบสามารถทำงานได้กับผู้เรียนที่มีอุปกรณ์การเรียนรู้ที่มีคุณสมบัติอุปกรณ์ต่างกันได้




























ความเห็นเพิ่มเติมของผมเอง
ผมเห็นว่าในปัจจุบันระบบการจัดการการเรียนการสอนหลายๆตัวที่ผมใช้อยู่ก็พยายามออกแบบและพัฒนาปรับปรุงให้รองรับการทำงานที่ผู้เขียนได้เสนอไว้ค่อนข้างมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งผมคิดว่าแนวคิดนี้จะสามารถดำเนินการได้ผ่านการพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้งของผู้พัฒนาระบบแต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นด้วยกันกับผู้เขียนคือสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพียงผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ที่จะตระหนักในเรื่องหล่านี้แต่หมายถึงผู้ใช้ด้วยซึ่งก็คือพวกเราไงครับ