วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

​แปล​ "Next-Generation eLearning: Sharing and Re-use Digital Learning Resources with Pedagogically-Sound eLearning Tools"

การเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์รุ่นต่อไปการแบ่งปันและนำสื่อการสอนดิจิตอลกลับมาใช้โดยใช้เครื่องมือการสอนที่เหมือนกับการสอนจริงๆ จากรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานอีเลิร์นนิ่งต่างๆมีการสรุปสาระที่เกี่ยวกับจุดแข็งและจุดอ่อนของอีเลิร์นนิ่งดังนี้ครับ

จุดแข็ง
1.เครื่องมือที่ใช้ในการสอนมีความหลากหลายกว่าเมื่อก่อนและผู้เรียนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้มากกว่า
2.ไม่เพียงแต่ปริมาณที่มากขึ้นแต่คุณภาพยังมากขึ้นที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตอบโต้กับเนื้อหาและมีการแจ้งเตือนไปยังเมล์เมื่อการมีเพิ่มข้อความในกระดานเสวนา
3.สื่่อออนไลน์ส่วนใหญ่มีความสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาได้ให้กับฐานข้อมูลหรือระบบอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.สื่อการสอนสามารถบันทึกลและนำไปใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย








จุดอ่อน
1.รูปแบบของเครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันขาดการสอดรับกับทฤษฎีการเรียนรู้
2.ตัวรองรับระบบปัจจุบันค่อนข้างขัดขวางการแบ่งปันสื่อการสอนเพราะมีเพียงร้อยละ6ที่สนับสนุนการแบ่งปันสื่อซึ่งการผลิตต้องใช้งบและเวลาในการพัฒนาที่มากขึ้น
3.เมื่อตัวรองรับระบบเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นการใช้งานก็มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
4.สื่อการสอนที่เป็นที่นิยมไม่ได้เป็นสื่อที่อนุญาตให้นำไปต่อยอดและมีราคาแพง




จากการศึกษาถึงตัวรองรับสื่อการสอนอีเลิรน์นิ่งหรือPlatfomวิเคราะห์ของระบบในสามหมวดหลักของสื่อคือสื่อที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมสื่อเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการสื่อสารและสื่อที่เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรการสอนพบว่ามากกว่าครึ่งจาก66ตัวที่เลือกมาไม่มีสื่อที่ผู้เรียนมีส่วมร่วมและมีเพียงครึ่งเดียวที่พบว่ามีการออกแบบที่เข้ากันได้กับการออกแบบเพื่อการสอน(InstructionalDesign) ดูจากตารางนะครับว่าจะมีการเปรียบเทียบกับสื่อที่คาดหวังว่าจะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในด้านใดบ้าง นอกจากนี้ยังมีการระบุอีกในตารางที่สองที่ทำการเปรียบเทียบสื่อสองตัวที่มีการสนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการผลิตงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมแต่ไม่พบว่าสื่อใดมีการแบ่งปันสื่อการสอนตามตารางนะครับ






















จากนั้นก็มีการกล่าวถึงความต้องการที่จะต้องปรับปรุงพัฒนาโดยเน้นผู้เขียนได้กำหนดหมวดหมู่ของการสอนให้เสมือนการเรียนรู้จริงออกเป็นสามหมวดคือ

1.เครื่องมือสำหรับสื่อสารโดยแนะนำให้ใช้ภาพยนตร์ในการประกอบการเรียนรู้ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการอ่านหนังสือนอกจากนี้ยังยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่นใช้กระดานเสวนาที่มีการส่งข้อความไปยังหน้าจอโทรศัพท์มือถือของผู้เรียนเสมอเพื่อให้ติดตามผลการปฏิบัติกิจกรรมได้ตลอดรวมไปถึงความสามารถที่ผู้เรียนสามารถให้ผลสะท้อนต่อการเรียนของพวกเขาได้ผ่านระบบที่อนุญาตให้ทำการบันทึกบริหารจัดการเนื้อหาที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

2.เครื่องมือที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมซึ่งผู้เขียนได้กล่าวว่าสื่อส่วนใหญ่ได้มีการพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแต่ผู้เขียนได้แนะนำว่าควรมีการสนับสนุนให้สามารถทำกิจกรรมแบบร่วมมือกันเรียนรู้ระหว่างเพื่อนหรือเพื่อร่วมกันสร้างการเรียนรู้แบบเป็นระบบไปด้วยกันการเขียนประเมินบันทึกส่วนตัวหรืองานของเพื่อนหรือการประเมินอื่นๆซึ่งสื่อการสอนควรรองรับการเรียนรู้เช่นนี้







3.เครื่องมือที่สนับสนุนการออกแบบเพื่อการสอนซึ่งจะเน้นไปที่ผู้สอนที่จะช่วยให้สามารถทำการดำเนินการสอนโดยใช้ขั้นตอนในการดำเนินการที่น้อยลงโดยคำนึงถึงตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์การสอนไปจนถึงการวัดผลประเมินผลซึ่งควรจะมีส่วนช่วยให้ผู้สอนสามารถสร้างเนื้อหาที่สามารถสื่อถึงผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสนับสนุนการสร้างสถานการณ์จำลองของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกแห่งความจริงในห้องเรียนเสมือนได้
นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เสนอถึงแนวคิดที่ผู้สอนสามารถแบ่งปันเนื้อหาที่สร้างต่อชุมชนหรือผู้อื่นเพื่อนำไปใช้ในการสอนได้โดยมีการผลิตสื่อที่มีมาตรฐานและรองรับด้วยระบบการสอนต่างๆที่เหมือนกันเพื่อให้เกิดการแบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพเช่นการใช้SCORM/IMS,DublinCore,หรือCANCORE.



และผู้เขียนยังได้แนะนำถึงการออกแบบรูปแบบการแสดงผลของระบบการเรียนสอนที่ง่ายต่อการสอนและสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและท้ายสุดผู้เขียนได้แนะนำเกี่ยวกับสื่อการสอนที่เรียนรู้ได้ด้วยโดยมีความสามารถในการเรียนรู้ผู้เรียนที่ใช้สื่อได้ด้วยโดยศึกษาจากกระบวนการการใช้สื่อและปฏิสัมพันธ์ต่างๆในระบบโดยอาจทำเป็นแบบฟอร์มให้บันทึกข้อมูลส่วนตัวต่างๆที่จะสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบโดยผู้พัฒนาต่อไปเช่นข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วของอินเตอร์เน็ตเป็นต้นซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้พัฒนาปรับแก้ให้ระบบสามารถทำงานได้กับผู้เรียนที่มีอุปกรณ์การเรียนรู้ที่มีคุณสมบัติอุปกรณ์ต่างกันได้




























ความเห็นเพิ่มเติมของผมเอง
ผมเห็นว่าในปัจจุบันระบบการจัดการการเรียนการสอนหลายๆตัวที่ผมใช้อยู่ก็พยายามออกแบบและพัฒนาปรับปรุงให้รองรับการทำงานที่ผู้เขียนได้เสนอไว้ค่อนข้างมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งผมคิดว่าแนวคิดนี้จะสามารถดำเนินการได้ผ่านการพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้งของผู้พัฒนาระบบแต่สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นด้วยกันกับผู้เขียนคือสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพียงผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ที่จะตระหนักในเรื่องหล่านี้แต่หมายถึงผู้ใช้ด้วยซึ่งก็คือพวกเราไงครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. Hello Ajarn,
    Nice to come across your blog. This is very informative and interesting. Check mine at http://www.gotoknow.org/blogs/books/0?address=nuenglish&

    ตอบลบ