วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"ในฐานะครู คุณคิดว่าคุณชอบวิธีสอนในอีเลิร์นนิงใด เพราะเหตุใด"

"ในฐานะครู คุณคิดว่าคุณชอบวิธีสอนในอีเลิร์นนิงใด เพราะเหตุใด"

x

สื่อ การสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง ส่วนใหญ่ถึงเกือบทั้งหมดมีการออกแบบและพัฒนามาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เพื่อทดแทนรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำภายในห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายที่เพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงเนื้อหาของผู้เรียนที่เท่า เทียมกัน (increase access) และเพิ่มการพัฒนาคุณภาพในกระบวนการการเรียนการสอน (improve pedagogy) ซึ่งหากพิจารณาในรูปแบบของกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ นั้น ล้วนแต่สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาประยุกต์ในฐานะสื่อ การสอน เครื่องมือประกอบการเรียน หรือแหล่งการเรียนด้วยตนเองที่สนับสนุนลักษณะการเรียนรู้ (Leaning Syles) ที่แตกต่างกันไปของผู้เรียนได้เป็นอย่างน่าพอใจในระดับหนึ่้ง

x
เมื่อ พิจารณาตามรูปแบบของกิจกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างของการเรียนการสอนแบบพบปะจริง (Face to face) กับการเรียนออนไลน์ (Online) จะสามารถจำแนกได้ดังนี้


การบรรยาย (Lecture)
x

รูปแบบ
การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ข้อจำักัด
เป็น กระบวนการบรรยายนั้น เป็นกระบวนการที่เน้นการนำเสนอข้อมูลที่เน้นการนำเสนอข้อมูลจากผู้สอนเป็น หลักในขณะที่ผู้เรียนเป็นผู้รับสื่อเท่านั้น กระบวนการจะเน้นการสื่อสารทางเดียวมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์ สื่อ ประสมในรูปแบบต่าง ๆ ล้วนสนับสนุนการนำเสนอทางเดียวได้เป็นอย่้างดี รองรับการนำเสนอที่หลากหลาย ทั้งอักษร ภาพ เสียง และภาพยนตร์ สามารถนำส่งข้อมูลได้อย่างมีรายละเอียดและมีคุณภาพมากกว่าการบรรยายโดยใช้ สื่อหนึ่งสื่อใดเพียงอย่างเดียว รองรับการทำงานทั้งแบบการนำเสนอแบบผสานเวลา (Synchrnous) และไม่ผสานเวลา (Asynchronous) ผู้ เรียนมีโอกาสในการมีส่วนร่วมน้อย (แม้กรณีการสื่อสารแบบผสานเวลา เพราะผู้เรียนเองก็ไม่กล้าที่จะขัดเพราะเกรงว่าจะไปรบกวนการเรียนของผู้ อื่น)




การสาธิต (Demonstration)
x
รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
เป็น กระบวนการนำเสนอที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนกระบวนการทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะในการกระทำบางสิ่งบางอย่างแก่ผู้ที่สนใจ
การ นำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์สื่อประสมจะเหมาะสมมากเพราะสามารถนำเสนอได้ทั้งใน รูปแบบของภาพเคลื่อนไหวพร้อมคำบรรยายซึ่งผู้เรียนจะสามารถเห็นภาพกระบวนการ ต่าง ๆ รูปแบบการใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีเพราะวัสดุที่อาจสิ้นเปลืองในการ ปฏิบัติจริง จะใช้เพียงครั้งเดียวและสามารถชมซ้ำได้ไม่จำกัดเพื่อความเข้าใจของผู้เรียน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการสื่อสารแบบผสานเวลา และการศึกษาด้วยตนเอง (Self-paced learning) ได้ด้วย
ผู้ เรียนที่มีปัญหาในการเชื่อมต่อเครือข่าย หรือมีการใช้สัญญาณอินเตอร์เ็น็ตที่มีความเร็วต่ำหรือช่องสัญญาณคับคั่งจะ ไม่สามารถรับชมสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องรอการแสดงผลที่สมบูรณ์ของสื่อ ผู้ผลิต ควร อนุญาตใ้ห้มีการบันทึกเก็บไว้ที่เครื่องลูกข่ายได้ และควรผลิตสื่อที่สามารถรับชมได้โดยไม่ต้องติดตั้งเครื่องมือพิเศษเพิ่มเติม


x
การสอนโดยฝึกปฏิบัติและทดลอง (Practice and Experiment)
รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ข้อจำักัด
เป็น รูปแบบการสอนที่ชัดเจนว่าเน้นการลงมือปฏิับัติและทดลองเพื่อให้เกิดความรู้ และทักษะในการกระทำต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมที่กำหนด โดยผู้สอน
กระบวน การการเรียนการสอนแบบนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการพัฒนาโปรแกรมที่สนับสนุนการปฏิสัมพันธ์กับ ผู้เรียนแบบมีเงื่อนไข เพือการลองผิดลองถูก เลือกใช้ เลือกทำ โดยผู้เีรียน ซึ่งน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในการผลิตสื่อการสอนลักษณะนี้ แต่ผลที่ได้จะช่วยฝึกทักษะการเรียนเรียนจากการลงมือทำ (leaning by doing) ได้เป็นอย่างดี และเกิดความเข้าใจได้ัดีกว่าการบอกเล่าโดยผู้สอน
การ กำหนดเงื่อนไขในการทดลองจะมีขีดจำกัดตามศักยภาพในการผลิตสื่อของทีมผู้สอน หรือผู้สนับสนุนการสอน ซึ่งต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะแสดงแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขการกระทำของผู้ เรียน ซึ่งหากจะให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทดแทนการเรียนในห้องเรียนปกติได้นั้นต้องมีการ เก็บข้อมูลที่สูงและนำเสนอตอบสนองได้เป็นอย่างดี ซึ่งปกติจะมีให้เห็นในรูปของ Commercialware มากกว่า แต่ก็จะข้อจำกัดในด้านขอบข่ายของเนื้อหา


x
การสอนด้วยเกม (Game)

รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
กระบวน การการนำเสนอเนื้อหาที่ต้องการผ่านสื่อประสมที่ออกแบบมาในรูปแบบของ กา่รแข่งขันที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขภายใต้ ภาพ สี เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ ระบบตอบสนองที่ตอบรับการลงมือเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้เรียน รูปแบบจะเน้นการถ่ายทอดความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิงของผู้เรียน
เทคโนโลยี สารสนเทศจะสนับสนุนการนำเสนอสื่อได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยความพร้อมในการนำเสนอสื่อประสมอย่างไร้ขีดจำักัด และจะยังช่วยยึดเหนี่ยวให้ผู้เรียนอยู่กับเนื้อหาที่ต้องการนำสื่อได้นาน และมีการรับเอาความรู้ที่ต้องการถ่ายทอดได้ผ่านการทดลองและเล่นกับกิจกรรม นั้น ๆ
เช่น เดียวกับ สื่อสอนการปฏิบัติและทดลอง ซึ่งกระบวนการการผลิตต้องคำนึงถึงเงื่อนที่ตอบรับการกระทำของผู้เรียนได้ อย่างเหมาะสมและครบถ้วน


x
การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)

รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
กระบวน การนำเสนอความรู้โดยเน้นการปฏิบัติในสถานการณ์ที่จำลองขึ้นเพื่อเน้นทักษะ ในการเลือกใช้ความรู้ที่มีในการแสดงออกในสถานการณ์นั้น ๆ อย่างเหมาะสม
เทคโนโลยี สื่อประสมจะสามารถรองรับแนวคิดของกระบวนการการเรียนการสอนได้ดี โดยการกำหนดรูปแบบสถานการณ์ที่หลากหลายและเร้าให้ผู้เรียนพยายามแก้ปัญหา ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น โดยระบบอาจแสดงผลลัพธ์ของการกระทำให้ผู้เรียนได้รับทราบในรูปแบบต่าง ๆ
กระบวน การแบบนี้ เหมาะที่จะใช้ฝึกเพื่อการแก้สถานการณ์ต่าง ๆ โดยมีผู้สอนออนไลน์เพื่อให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก ขยายความ หรือ ไขข้อข้องใจของสิ่งที่ผู้เรียนอาจจะติดขัดหรือทำผิดพลาด เพราะระบบไม่น่าจะสามารถบันทึกการกระทำต่าง ๆ ของผู้เรียนไว้ได้ทั้งหมดทุกกระบวนการ ผู้สอนอาจจะได้รับเพียงผลการกระทำท้ายสุดเท่านั้น หากไม่เข้าระบบพร้อมผู้เรียน


x
การสอนด้วยบทบาทสมมติ (Role Play)

รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
กิจกรรม ที่ผู้เรียนไม่ได้กระทำการต่าง ๆ ในฐานะปกติของตนเอง แต่สวมบทบาทที่แตกต่างกันออกไปเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เพื่อนำเข้าสู่การเรียนรู้ หรือได้ทักษะในการกระทำการต่าง ๆ
บท บาทสมมติจะถูกกำหนดในระบบออนไลน์ได้หากมีการพัฒนาเครื่องมือที่สนับสนุนการ แสดงออกในด้านพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อฝึกฝนการใช้ความรู้ที่มีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้น
การ สอนด้วยบทบาทสมมติมักจะต้องกระทำกับผู้อื่น กระบวนการจึงเน้นไปที่การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration) และ การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Cooperation) มากกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะต้องมีผู้สอนช่วยให้ความเห็นต่อผลการแสดงบทบาทของผู้เรียนได้ นอกจากนี้ รูปแบบกิจกรรมจะเือื้ออำนวยต่อการเรียนแบบผสานเวลามากกว่าแบบไม่ผสานเวลา



x
การทัศนศึกษา (Field Trip)
รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
การ เรียนการสอนที่เน้นการเดินทางไปยังสถานที่จริงเพื่อการได้รับชม รับฟังจากสถานที่จริง ซึ่งกิจกรรมนอกสถานที่จะช่วยเสริมแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะ เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ได้มากกว่าการฟังบรรยายในห้องเรียน
Virtual Field Trip จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อย่างสูง ทั้งในส่วนของการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พักที่จะตามมามากมายจากการนำผู้เรียนไปเข้าชมสถานที่จริง การสร้างสถานที่เสมือนในโลกออนไลน์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะนำมาประยุกต์ใช้ แต่กระบวนการนำมาใช้จริงที่น่าจะง่ายที่สุด คือ การนำเสนอแบบภาพยนตร์ เพราะเป็นนำเสนอภาพ เสียง ข้อมูลจากสถานที่จริง โดยมีผู้สอนร่วมกิจกรรมนี้ไปด้วยเพื่อการส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้อย่างมี ประสิทธิภาพ
นอก จากข้อจำกัดเรื่องการใช้ภาพยนตร์แล้ว ผู้สอนควรอยู่ในระบบเวลาเดียวกันกับที่มีการทัศนศึกษาเพื่อดำเนินรายการการ เยี่ยมชมและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้เสริมจากการชมภาพยนตร์ เช่น ตั้งคำถามสอบถามผู้เรียนให้ตอบจากการชมภาพยนตร์ การขอให้สรุปความรู้ที่ได้จากการชมจุดต่าง ๆ การสนทนาสดหรือกระดานเสวนาจะสามารถทำหน้าที่ในส่วนได้ แม้จะลดความน่าสนใจของผู้เรียนลงไปบ้างก็ตาม
x

x
การฝึกหัดและทดสอบ (Exercises and tests)
รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
กิจกรรม นอกเหนือกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ที่มุ่งเน้นการทบทวนเพื่อประมวลความรู้ที่คาดหวังจากผู้เรียน โดยผลลัพธ์จะแสดงออกในรูปแบบของคะแนนหรือระดับความสามารถในรูปแบบใดรูปแบบ หนึ่ง
เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารสามารถรองรับบทบาทนี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของแบบฝึกหัดที่แสดงผลตอบรับทันที หรือบันทึกผลคะแนนแจ้งผู้เรียน หรือ แม้แต่บันทึกผลการกระทำแบบทดสอบและให้ผู้สอนเข้ามาวัดผล พร้อมการสนับสนุนเต็มรูปแบบของภาพ เสียง ที่หลากหลายเร้าความสนใจผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
การ ผลิตแบบฝึกและแบบทดสอบยุ่งยากและกลายเป็นข้อจำกัดเรื่องของความน่าเชื่อถือ หากผลิตด้วยทีมงานที่ไม่มีความรู้ในศาสตร์ด้านนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตตลอดเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อ ถือและการตรวจวัดที่ตรงกับความต้องการของผู้สอน



x
การประชุมกลุ่ม (Meeting, buzzgroup , brainstroming, discussion)

รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
การ สนทนาแลกเปลี่ยน โดยเ้น้นไปที่การแลกเปลี่ยนความเห็นของผู้เรียน แบ่งปันประสบการณ์เพื่อหาทางแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยผู้สอน จากนั้นผ่านการกลั่นกรอง สังเคราะห์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
ระบบ การสื่อสารทั้งแบบผสามเวลาและไม่ผสานเวลาสามารถตอบสนองกิจกรรมแลกเปลี่ยน ความคิด ประสบการณ์ การซักแย้ง ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องเกิดความรู้สึกกดดันจากการเผชิญหน้า หรืออุปสรรคจากความเขินอายที่จะแสดงออก
หาก กระบวนการที่ต้องการการหาทางออกที่มีข้อจำกัดของเวลา อาจกระทำได้ลำบากหากใช้กระบวนการประชุมแบบไม่ผสานเวลา เพราะผู้เรียนอาจจะเข้าระบบในเวลาที่สะดวก และหากเกิดความไม่มีเสถียรภาพของระบบ การเสวนาแลกเปลี่ยนอาจขาดตอนและไม่บรรนลุวัตถุประสงค์ที่คาดหวังโดยผู้สอน ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมอาจต้องการผู้ที่มีความสามารถในการดำเนินการประชุมได้อย่างมี ประสิทธิภาพที่ทำหน้าที่ซักถาม ขยายความ เปิดช่องการเสวนา หากขาดผู้เรียนที่มคุณสมบัติดังนี้ ผู้สอนจำต้องมีส่วนร่วมในการดำิเนินการแทน



x
การโต้วาที (Debate)

รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
การ เสวนาแลกเปลี่ยนในลักษณะของการค้านแย้งต่อแนวคิดของฝ่ายตรงข้ามโดยการอ้าง ยกตัวอย่าง แหล่งข้อมูล และอื่น ๆ เพื่อหักล้างข้อมูลเสนอจากอีกฝ่ายและโน้มน้ามผู้ฟังให้เกิดความเชื่อและ คล้อยตามแนวคิดของฝ่ายตน
การ สนทนาแบบผสานเวลาเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งในรูปแบบของอักษร เสียง หรือ การสนทนาผ่านการประชุมผ่านเว็บ เพราะเน้นการนำเสนอที่ผสานเวลาเพื่อค้านแย้ง หักล้างแนวคิดของฝ่ายตรงข้ามแบบทันที โดยผู้ชมสามารถในส่วนร่วมในการโต้วาทีได้ รวมถึงผู้สอนเองด้วย
กระบวน การนี้ควรได้รับการสนับสนุนด้านเสถียรภาพของระบบที่ใช้และความเร็ว อินเตอร์เน็ตที่มากพอที่จะทำให้เกิดการตอบโต้อย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพเพราะการขาดช่วงของการสนทนาจะส่งผลต่อบรรยากาศการโต้วาที ทั้งในตัวแทนแต่ละฝ่ายเองและผู้ชม


x
การสอนโดยใช้โครงงาน (Project)


รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
กระบวน การการเรียนการสอนที่เน้นการถ่ายโอนความรู้สู่ผู้เรียนผ่านการดำเนินการ ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนดให้ ซึ่งกระบวนการทำโครงการอาจเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม และกระบวนการพัฒนาโครงงานอาจอยู่ภายใต้การดูแลของผู้สอนด้วย
สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความพร้อมที่จะสนับสนุนการทำโครงการ ตั้งแต่กระบวนการ ใส่ข้อมูล ปรับแก้ เพิ่มเติมและนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยไม่มีข้อจำักัดของเวลาและสถานที่ โดยผู้เรียนสามารถปรึกษาความก้าวหน้าโครงงานกับผู้สอนได้ตลอดเวลา และผู้สอนเองก็สามารถให้คำแนะนำผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง
กระบวน การนี้ ผู้เรียนควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับ แนวคิด แนวปฏิบัติและได้รับการฝึกให้ทำโครงงานอย่างง่ายจนเกิดความเข้าใจในกระบวน การการทำโครงงานก่อนการลงมือทำโครงงานจริง มิฉะนั้นจะกลายเป็นภาระหนักของผู้เรียนและผู้สอนที่ต้องเติมเต็มความรู้ที่ ขาดไปและใช้เวลาในการทำกิจกรรมมากกว่าที่ควรจะเป็น


x
การสอนด้วยการแก้ปัญหา (Problem Solving)

รูปแบบ การนำประยุกต์กับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อจำักัด
กระบวน การสอนที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่ต้องศึกษาปัญหาและหาทางแก้ อาจเป็นในรูปแบบของงานรายบุคคลหรืองานกลุ่มภายใต้คำแนะนำและอำนวยความสะดวก ของผู้สอน
การ ใช้เครื่องมือสนับสนุนการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ของเทคโนโลยีสารสนเืทศและการสื่อสารจะยังคงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแก้ ปัญหาของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากการทำงานเน้นที่การทำงานแบบร่วมมือช่วยเหลือกันเพื่อหาทางออกใน การแก้ปัญหา
จะ คล้ายกับการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่เน้นการทำงานร่วมกันที่ ควรมีการแนะนำบทบาทที่เหมาะสมของการทำงานเป็นกลุ่มโดยเฉพาะการทำงานที่ไม่ มีโอกาสได้พบกันจริงของผู้เรียนจำเป็นต้องมุ่งเน้นการสร้างวินัยในตนเองสูง ภายใต้การอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ โดยผู้สอน


x
Inductive VS Dedcutive


Inductive
กระบวน การเรียนรู้จากจุลภาคสู่มหภาค เหมาะกับกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งถ่ายทอดความรู้เฉพาะหน่วยเพื่อการนำไปสู่ การบูรณาการความรู้ที่สั่งสมเพื่อการนำไปสร้างการสร้างความรู้ในภาครวม กระบวนนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ไม่มีพื้นฐานหรือแนวคิดในเนื้อหาสาระนั้น โดยแนะนำสาระทีละกลุ่มเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและปูรากฐานเพื่อความพร้อมในการก้าวสู่ขั้นตอนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Deductive
กระบวน การเรียนรู้แบบการมองจากมหภาคและวิเคราะห์ลงไปที่ปัจจัยย่อย ๆ ที่มีผลหรือจำเป็นในการบวนการสร้างองค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการการเรียนรู้แบบอภิปราย เพื่อการนำสู่แนวทางแก้ปัญหาเฉพาะด้านจากการมองสภาพรวมของปัญหา ซึ่งน่าจะเหมาะ สมกับผู้เรียนที่มีความรู้ในด้านนั้นพอสมควรและสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิม มีใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างองค์ความรู้ทั้งแบบด้วยตนเองและแบบกลุ่ม

x
Informationa and Communication Technology for educational methodology
นอก เหนือจากการเรียนรู้ผ่านวิธีการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รูปแบบการเรียนรู้ที่เือื้อต่้อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าตารางนี้ กล่าวคือ


Peer Teaching
การสอนโดยเพื่อน


Peer Learning
เพื่อนเรียนกับเืพื่อน

Collaborative Learning
การช่วยเหลือเพื่อเรียนรู้

Learning Cycle
วงจรการเรียนรู้


Teacher's Facilitation
การอำนวยความสะดวกโดยผู้สอน

Cooperative Learning
การร่วมมือเพื่อเรียนรู้

Team Learning
การเรียนเป็นคณะ


Study Group
กาีีรเรียนเป็นกลุ่ม

Learning Communities
ชุมชนการเรียนรู้

รูป แบบการเรียนรู้ทั้งเก้าแบบนี้มีความเหมาะสมที่จะสามารถรับการบูรณาการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างผู้ เรียนผ่านกระบวนการถ่ายมอบความรู้ ทั้งจากเพื่อนสู่เพื่อน จากการช่วยเหลือ จากความร่วมมือ จากชุมชนการเรียนรู้ จากการทำงานกลุ่ม คณะ หรือ จากวงจรการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอน จะเป็นตัวแปรที่อำนวยความสะดวกให้รูปแบบกระบวนการต่าง ๆ ดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญคือ การกำหนดบทบาทของผู้เรียน การมีวินัยในตนเองที่มีศึกษาและแลกเปลี่ยนแนวคิดให้ได้มาซึ่งแนวคิด ความรู้ที่คาดหวังโดยผู้สอนนั่นเอง

ชอบวิธีการสอนในอีเลิร์นนิ่งใด เพราะเหตุใด?

xx
ส่วน ตัวแล้วผมชอบกระบวนการสื่อสารกับผู้เรียน (Communicative Approach) โดย การกระบวนการการเรียนรู้จะกระตุ้นให้เกิดโดยผู้สอนซึ่งในที่นี้จะถูก กำหนดบทบาทให้เป็น Facilitator โดยวิธีการในการสื่อสารกับผู้เรียนนั้น จะพิจารณาจากเนื้อหา ขอบข่ายและรูปแบบกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เกิดการถ่ายโอนความรู้จากผู้เรียน ไปยังผู้สอนได้ นั่นน่าจะหมายถึง

ผมจะใช้การสื่อสารดำเนินการสอนผ่านการช่วยเหลือจาก

x
1. เครื่องมือการสอนสื่อประสมต่าง ๆ เช่น การใช้ Web, audio file, movie files สำหรับการเสริมความรู้สำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีพื้นฐานหรือแนวคิด ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น


x
2. เครื่องมือสนับสนุนการสื่อสารรายบุคคล เช่น e-mail, instant messenger และ audio and video chat software

x
3. เครื่องมือสนับสนุนการอภิปราย แลกเปลี่ยน เช่น webboard, weblog, wiki และ conferencing tools

ซึ่ง เมื่อวิเคราะห์จากรูปแบบกิจกรรมที่กล่าวรวมทั้งข้อเสียข้างต้น ผมเลือกที่จะประยุกต์ใช้ทุกรูปแบบของกิจกรรมแต่น้ำหนักของความมากน้อยจะแตก ต่างไปตามระดับความสามารถของผู้เรียน ซึ่งในการสอนระดับอุดมศึกษาของผมนั้น จำแนกออกได้ดังนี้

x
กระบวน การถ่ายทอดเนื้อหาแบบบรรยาย สาธิต และแบบฝึกและทดสอบ ผมจะยกไปไว้ในช่วงเวลาของการศึกษาด้วยตนเองให้ผู้เรียนศึกษาก่อนการเข้า เรียนก่อน (Self-paced learning)



x
ส่วน การพบปะในห้องเรียนจะเป็นแสดงความสามารถผ่านการอภิปราย แลกเปลี่ยน แสดงสถานการณ์จำลอง บทบาทสมมติ การแก้ปัญหา เกม การทัศนศึกษาออนไลน์ ซึ่งจะเน้น การมีส่วนร่วมของผู้เรียนต่อการทำกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียน รู้แบบช่วยเหลือและร่วมมือ (Collaborative and cooperative learning) ซึ่งจะพบการแทรกซึมของ Peer teaching, peer learning, learning communitiies, team learning, study group และั learning cycle เพราะความแตกต่างของผู้เรียนจะผลักดันให้เกิดกระบวนการเหล่านี้อยู่ภายใน เองภายใต้การสนับสนุนอย่างเหมาะสมของผู้สอน

x
ผม หลีกเลี่ยงที่ จะใช้ การโต้วาที และการทำโครงงาน เพราะวิชาภาษาอังกฤษจะมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะในการสื่อสารมากกว่า ซึ่งกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ของผม ไม่มีศักยภาพสูงพอที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการโต้วาที หรือ ทำโครงงานภาษาอังกฤษครับ

x
อย่าง ไรก็ตาม ผมเองก็ยังคงมองหาวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เป็นแรงผลักในการเรียนรู้ของตนเองมาก ขึ้นมากกว่าการรอรับการกระตุ้นจากผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ยังคงต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์เพื่อหาขอบข่าย ปริมาณและวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมครับผม แต่ผมก็ยังเชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับผมที่ จะเลือกหยิบมาใช้เพื่อสนองความต้องการในการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการ เรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ